วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


ฟังดนตรีคลายเครียด




เครียด

ความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังอย่างหนึ่งสำหรับสุขภาพที่ดี และอายุที่ยืนยาว นอกจากนี้ยังอยากเพิ่มเติมเข้าไปอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้สึกผ่อนคลายช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์ดึงเครียดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยมีงานวิจัยค้นพบว่า ดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ จะทำให้การหายใจช้าลง ช่วยลดความดันโลหิตและความตึงของกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยลดความตึงเครียดของร่างกาย

สำหรับการใช้ดนตรีคลาสสิกเพื่อผ่อนคลายความเครียดควรเลือกฟังดนตรีในยุคบาโรคและคลาสสิก ซึ่งเล่นด้วยเครื่องหลายอย่าง เช่น ไวโอลิน วีโอล่า เซลโล่ เพราะมีความถี่ในช่วงที่เหมาะสม คือ ๕,๐๐๐-๘.๐๐๐เฮิรตช์


วิตกกังวล

มีการทดลองพิสูจน์ให้เห็นว่า ดนตรีที่มีจังหวะผ่อนคลายช่วยลดระดับความกังวลของผู้ป่วยที่จะเข้าห้องผ่าตัดได้มากกว่าการกินมิคาโซแลม ซึ่งเป็นยานอนหลับชนิดหนึ่งเสียอีก

ส่วนผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้ฟังเพลงที่ตัวเองชอบ จะมีความรู้สึกเจ็บปวดและสภาพร่างกายหลังการผ่าตัด ที่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้ฟังเพลงอย่างเห็นได้ชัด โดยการเลือกฟังดนตรีช้าๆ เบาๆ จะช่วยสร้างความสงบในจิตใจ และทำให้อารมณ์สงบได้

นอนไม่หลับ

อีกสิ่งหนึ่งที่หลายท่านอาจประสบคือ อากรนอนไม่หลับ ซึ่งการฟังดนตรีที่เหมาะสมสามารถเป็นทางออกที่ดีเช่นกัน

โดยผลการวิจัยพบว่า การฟังดนตรีบรรเลงเบาๆ ช้าๆ จะช่วยให้คนที่นอนไม่หลับ หลับได้สบายขึ้น

นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้อีกว่าเพียงฟังดนตรีจังหวะผ่อนคลายเป็นเวลา ๔๕ นาทีก่อนอนอน จะทำให้ค่ำคืนนั้นกลายเป็นวันแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง

หรือหากต้องการให้หลับลึกขึ้น อาจลองหาดนตรีบรรเลงเบาๆ ช้าๆ ที่ไม่มีเสียงร้องมาฟังก่อนนอน ก็ช่วยได้ เพราะการฟังดนตรีประเภทนี้ส่งผลให้การเต้นของหัวใจลดลง และทำให้นอนหลับลึกขึ้น

นอกจากนี้การฟังดนตรีคลาสสิกเบาๆ ก่อนนอนยังช่วยเพิ่มคุณภาพของการนอน คือทำให้หลับเต็มอิ่มขึ้นด้วย เรื่องนี้มีการทดลองกับกลุ่มนักศึกษา ๙๔ คน ที่มีอายุระหว่าง ๑๙-๒๘ ปี ซึ่งมีปัญหาเรื่องการนอน โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกให้ฟังเพลงดนตรีคลาสสิก กลุ่มที่ ๒ ให้ฟังหนังสือเสียง ส่วนกลุ่มที่ 3 ไม่ได้ฟังอะไรเลย ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ฟังดนตรีก่อนนอนสามารถนอนหลับได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1144

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น