วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

คิลปะกับการพัฒนาของวัยเด็ก

    

  เด็กๆสามารถทำงานศิลปะได้ตั้งแต่่ช่วงก่อนปฐมวัย โดยเป็นกิจกรรมในครอบครัวได้ และเมื่อเด็กเข้าสู่โรงเรียนแล้ว ศิลปะ ก็มีความสำคัญต่อเด็กในช่วงนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าในช่วงก่อนปฐมวัย 
เนื่องจากการทำงานศิลปะส่งผลดีต่อตัวเด็กหลายประการ เช่น
- พัฒนาประสิทธิภาพของสมอง ดังที่ทราบแล้วว่า สมองมนุษย์เราแบ่งเป็น 2 ซีก ซีกซ้าย ควบคุมร่างกายซีกขวา สมองซีกขวาควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย โดยที่สมองทั้งสองซีก มีใยประสาทชื่อ คอร์ปัส แคลโลซัม เป็นตัวเชื่อมโยง
สมองแต่ละซีกยังมีทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย หรือมีความสามารถที่แตกต่างกัน โดยที่ซีกซ้ายทำหน้าที่ทางด้านการคิดหาเหตุผลหรือความสามารถทางตรรกะ ความสามารถในการใช้ภาษา เช่น การพูด การอ่าน การเขียน การวางแผนจัดการ การคำนวณ ส่วนสมองซีกขวา มีความสามารถทางการรับรู้ การจำ การผสมผสานความคิด ตนตรี ศิลปะ


สมองเราได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ในครรภ์ และจะเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วใน 3 ปี หลังการคลอดจนมีขนาดเกือบเท่าขนาดสมองของผู้ใหญ่
อันที่จริง เซลล์สมองไม่ได้เพิ่มขึ้นหรอกนะคะ เพราะเซลล์สมองถูกสร้างมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว หากที่เจริญเพิ่มขึ้นคือเครือข่ายใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆ ยิ่งเครือข่ายและจุดเชื่อมต่อมีมากเท่าใด เด็กก็ยิ่งฉลาดมากเท่านั้น
คาดกันว่าเด็กอายุ 3 ปี มีเครือข่ายใยสมองมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า จนเมื่อเด็กอายุ 10 ปี สมองจึงเริ่มกำจัดเครือข่ายที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไป เพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

สิ่งแวดล้อม คนในครอบครัว มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็กมากค่ะ ดังนั้นการพูดคุยกันของคนในบ้าน การได้เห็นพฤติกรรมต่างๆ ได้ยินเสียงต่างๆ การอบรมสั่งสอนของผู้ใหญ่ สิ่งที่เด็กทำ เหล่านี้ล้วนช่วยกระตุ้นเครือข่ายในสมองเด็ก หากได้รับการกระตุ้นบ่อยๆ หรือทำงานอยู่ตลอดเวลา เครือข่ายใยสมองกลุ่มนั้นๆก็จะคงอยู่อย่างถาวร
เมื่อเรารู้ว่าเครือข่ายใยสมอง และจุดเชื่อมต่อเหล่านี้เป็นที่มาของความฉลาด เราคงอยากให้เครือข่ายใยสมองของเด็กถูกกำจัดทิ้งน้อยที่สุด
- พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (ความคิดสร้างสรรค์ คือการใช้ความรู้ ความคิด และประสาทสัมผัสทั้งหมดมาสร้างแนวความคิดใหม่ ซึ่งหมายเอาเฉพาะความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม สังคม หรือตนเอง หรืออื่นๆนะคะ ไม่ได้หมายถึงความคิดที่ก่อให้เกิดการทำลาย) อันช่วยส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ เนื่องจากหลังจากที่มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น มักเกิดความปิติตามมา จึงช่วยให้อารมณ์ดี ผ่อนคลาย สามารถบริหารอารมณ์ได้ดีขึ้น
และอารมณ์ที่ดีนี้ ก็ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นด้วยอีกเช่นกัน
ความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ ( Emotional Quotient) นี้ เป็นที่ยอมรับแล้วว่าสำคัญต่อมนุษย์ไม่แพ้ความฉลาดทางปัญญาหรือ IQ ( Intelligence Quotient) หรือความฉลาดทางความคิดสร้างสรรค์  คือ CQ ( Creativity Quotient) เลย (รวมไปถึงบรรดา Q ตัวใหม่ๆด้วย เช่น ความฉลาดทางด้านความอดทน – AQ : Adversity Quotient , ความฉลาดทางจริยธรรม – MQ : Moral Quotient หรือ ความฉลาดทางสุขภาพ – HQ: Health Quotient )

- ช่วยให้เด็กมีความทรงจำที่ยาวขึ้น ความทรงจำที่เป็นรูปภาพ จะจำได้แม่นยำ และยาวนานกว่าความรงจำที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นถ้าเด็กอ่านไป จินตนาการตามเนื้อเรื่องที่อ่านไป ก็จะจำได้ยาวนานและแม่นขึ้น
สมมุติว่าเราให้หัวข้อเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริแก่เด็ก ให้เด็กวาดภาพตามความเข้าใจที่อ่านจากเนื้อเรื่อง เด็กย่อมจำแนวพระราชดำริห์ได้ยาวนานกว่าการอ่านเพียงอย่างเดียว
ความจำที่ยาวนานมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาความเฉลียวฉลาด หากเด็กได้รับการกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์แนวพระราชดำริห์อีกครั้ง เมื่อดึงเรื่องราวจากความจำตามสมองซีกขวามาหาเหตุผลด้วยสมองซีกซ้าย ก็เท่ากับได้ใช้สมองซีกขวาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสมองซีกซ้าย
มีงานวิจัยในเด็กอายุประมาณ 6 ขวบ ว่า ถ้าเด็กได้เรียนดนตรี และทำงานศิลปะควบคู่ไป สามารถทำโจทย์เลขคณิต และมีความสามารถในการอ่านมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนทั้งสองวิชานี้
- ฝึกการยอมรับผู้อื่น การเข้ากลุ่มเพื่อวาดรูปด้วยกันของเด็กๆ ย่อมได้เห็นประสบการณ์การถ่ายทอดของกันและกัน เมื่อเพื่อนทำงานได้ดี การแสดงความชื่นชมเพื่อน หรือร่วมยินดีเมื่อเพื่อนได้รับคำชมเชย เป็นการฝึกให้เด็กมีธรรมคือ มุทิตา หรือการพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ ในหมวดพรหมวิหาร 4
มุทิตานี้ เป็นธรรมที่ค่อนข้างขาดในสังคมไทยค่ะ ดังจะเห็นได้จากคำพังเพยที่เราเคยได้ยินที่ว่า “จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน” เพราะไม่สามารถร่วมยินดีกับผู้ที่ประสบความสำเร็จได้นี้เอง จึงเป็นที่มาของความอิจฉา ริษยา อันสร้างปัญหา สร้างความทุกข์ให้เกิดให้กับทั้งตัวเองและผู้อื่น
- เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น การที่เด็กฝึกทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนเกิดความชำนาญ ทำให้เด็กมีเพื่อนมากขึ้น เพราะเมื่อเพื่อนๆเห็นความสามารถ อยากทำตาม ก็จะขอคำปรึกษาจากเด็ก จึงทำให้มีเพื่อนมากขึ้น และเข้ากับเพื่อนได้ง่ายขึ้นค่ะ
อีกทั้งการขอคำแนะนำ คำติชม ของเพื่อน ยังกระตุ้นให้เด็กอยากพัฒนาฝีมือทางศิลปะมากขึ้น ส่งผลให้มีการฝึกคิดมากขึ้นตามไปด้วย

- สร้างความมั่นใจในตนเอง เมื่อลูกทำงานแล้วได้รับคำชมเชย จะค่อยๆมั่นใจในตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ เด็กเล็กๆ คำชมเชยจากพ่อแม่ สำคัญมากค่ะ แต่เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนแล้ว คืออายุ 4 – 5 ปี การได้รับการยอมรับจากเพื่อน คำชมจากเพื่อนกลับสำคัญยิ่งกว่า
ความมั่นใจนี้เอง ที่จะสนับสนุนให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ กล้าที่จะเผชิญโลกที่รอคอยอยู่เบื้องหน้า
- การวิจารณ์ผลงานศิลปะในกลุ่มเพื่อน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างพื้นฐานกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ให้กับลูกค่ะ เพราะนักวิพากษ์ต้องเปิดใจให้กับสิ่งที่ตนไม่รู้ มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติ และยังช่วยฝึกลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางได้ 
- ฝึกการมีสมาธิในการทำงานให้สำเร็จ
- สร้างความรักในธรรมชาติ เช่น ฝึกลูกให้วาดภาพดอกไม้จากดอกไม้จริงๆ การวาดภาพธรรมชาติ ยังช่วยฝึกการเป็นคนช่างสังเกต ดังในภาพ เด็กสังเกตเห็นลักษณะของกลีบเลี้ยง การซ้อนกันของกลีบดอก และรอยหยักของใบ

- พัฒนาการทำงานอย่างประสานกันของอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อมือมือ สายตา
- ฝึกความอดทนแก่เด็ก อันเป็นผลมาจากการฝึกนั่งอยู่กับที่นานๆเพื่อทำงานศิลปะแขนงนี้
-สร้างสิ่งที่เราเรียกกันว่า “พรสวรรค์” อันเป็นสิ่งที่เด็กสามารถนำไปใช้ในเวลาที่ต้องการ
โทมัส เอลวา เอดิสัน เคยกล่าวถึงพรสวรรค์ประมาณว่าเป็นผลของแรงบันดาลใจเพียง หนึ่งเปอร์เซ็นต์ บวกกับความพยายามอย่างหนักอีกเก้าสิบเก้าเปอร์เซ็นต์
- ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สร้างอารมณ์ขัน

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น